วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ความหมายของคำว่า สารสนเทศ
     สารสนเทศ (information) [1] เป็นผลลัพธ์ของการประมวลผล การจัดดำเนินการ และการเข้าประเภทข้อมูลโดยการรวมความรู้เข้าไปต่อผู้รับสารสนเทศนั้น สารสนเทศมีความหมายหรือแนวคิดที่กว้าง และหลากหลาย ตั้งแต่การใช้คำว่าสารสนเทศในชีวิตประจำวัน จนถึงความหมายเชิงเทคนิค ตามปกติในภาษาพูด แนวคิดของสารสนเทศใกล้เคียงกับความหมายของการสื่อสาร เงื่อนไข การควบคุม ข้อมูล รูปแบบ คำสั่งปฏิบัติการ ความรู้ ความหมาย สื่อความคิด การรับรู้ และการแทนความหมาย
     ปัจจุบันผู้คนพูดเกี่ยวกับยุคสารสนเทศว่าเป็นยุคที่นำไปสู่ยุคแห่งองค์ความรู้หรือปัญญา นำไปสู่สังคมอุดมปัญญา หรือสังคมแห่งสารสนเทศ และ เทคโนโลยีสารสนเทศ แม้ว่าเมื่อพูดถึงสารสนเทศ เป็นคำที่เกี่ยวข้องในศาสตร์สองสาขา คือ วิทยาการสารสนเทศ และ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งคำว่า "สารสนเทศ" ก็ถูกใช้บ่อยในความหมายที่หลากหลายและกว้างขวางออกไป และมีการนำไปใช้ในส่วนของ เทคโนโลยีสารสนเทศ และ การประมวลผลสารสนเทศ


ความหมายของเทคโนโลยี
      คำว่า เทคโนโลยี ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า " Technology "ซึ่งมาจากภาษากรีกว่า" Technologia " แปลว่าการกระทำที่มีระบบ อย่างไรก็ตามคำว่า เทคโนโลยีมักนิยมใช้ควบคู่กับคำว่าวิทยาศาสตร์โดยเรียกรวม ๆ ว่า "วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" ซึ่งพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน(2539:406) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยี คือวิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอา วิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรมนอกจากนั้นยังมีผู้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้หลากหลาย ดังนี้ คือ

    

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ใช้สำหรับครู
การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยปฏิบัติงานในด้านต่างๆ อย่างมีประสิทธิผล มีมากมายหลายด้านได้แก่
     1.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานสำนักงาน ได้ในหลายลักษณะ เช่น
           1.1 การจัดเตรียมเอกสาร เป็นการใช้เครื่องประมวลผลคำหรือเครื่องประมวลผลเนื้อหา เป็นเครื่องมือในการจัดเตรียม อุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ โมเด็ม และช่องทางการสื่อสารระบบประมวลผลคำแบ่งออกได้ 2 ระบบ คือ
              -ระบบเดี่ยว
              -ระบบเชื่อมโยงกับข่ายการสื่อสาร
          1.2 งานกระจายเอกสาร เป็นการกระจายข้อมูลสารสนเทศไปยังผู้ใช้ ณ จุดต่างๆ
          1.3 งานจัดเก็บและค้นคืนเอกสาร สามารถทำได้ทั้งระบบออฟไลน์และระบบออนไลน์ โดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือผ่านเครื่อข่ายโทรคมนาคมรูปแบบอื่นๆ
          1.4 งานจัดเตรียมสารสนเทศในลักษณะภาพ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์สร้างภาพ เครื่องสแกนเนอร์ โทรทัศท์ และวิดีทัศน์ เป็นต้น
         1.5 งานสื่อสารสารสนเทศด้วยเสียง เช่น การใช้โทรศัพท์ เป็นต้น
        1.6 งานสื่อสารสารสนเทศด้วยภาพและเสียง เช่น ระบบมัลติมีเดีย ระบบการประชุมทางไกลด้วยภาพและเสียง เป็นต้น

                         การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน

1.ระบบปลุกอัตโนมัติ
      โดยที่คอมพิวเตอร์ถูกหลอมรวมเข้ากับที่พักอาศัย ที่ทำงาน และสภาพแวดล้อม
ภายนอก คอมพิวเตอร์จะ โปรแกรมให้เตือนหรือช่วยทำงานในบางกิจกรรม เช่น คอมพิวเตอร์จะปลุกให้ตื่นจากที่นอน เมื่อมีโปรแกรมโปรดของเจ้าของระบบ หรือ
คอยเตือนเมื่อโปรแกรมดังกล่าวมาถึง นอกจากนี้เจ้าของระบบคอมพิวเตอร์ยังสามารถเลือกดูหรือเลือกกิจกรรมที่จะกระทำในแต่ละวัน ตั้งแต่ ตื่นนอน ทำงาน รายการอาหารตลอดจนเข้านอน เมื่อถึงเวลาระบบคอมพิวเตอร์จะทำการตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็น เช่น รายการอาหารที่เลือกในแต่ละวัน จะมีการตรวจสอบถึงเครื่องปรุงต่าง     ที่มีอยู่ในตู้เย็นหรือตู้กับข้าวในห้องครัว เมื่อต้องการเครื่องปรุงชนิดใดจะมีรายงานเข้ามาที่เจ้าของระบบหรือจะรายงานการสั่งซื้อไปที่ร้านซูปเปอร์มาเก็ตที่ใกล้บ้านระบบจัดส่งอัตโนมัติมีการโอนเงินจ่ายเงินสำหรับของที่ซื้อโดยคอมพิวเตอร์  

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

  เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที (อังกฤษ: Information technology หรือ IT) หมายถึงเทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง การแปลง การจัดเก็บ การประมวลผล และการค้นคืนสารสนเทศ ในการประยุกต์ การบริการ และพื้นฐานทางเทคโนโลยี สามารถแบ่งกลุ่มย่อยเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ คอมพิวเตอร์, การสื่อสาร และข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ซึ่งในแต่ละกลุ่มนี้ยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆ ได้อีกมากมาย องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้